วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หลักสูตรคืออะไร

หลักสูตร (curriculum) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า "currere" ซึ่งหมายถึงช่องทางสำหรับวิ่ง (a racingchariot, from which is derived a racetrack, or a course to be run) ซึ่งนำมาใช้กับความหมายในทางการศึกษาก็หมายถึง แนวทางสำหรับการเรียนรู้ (a course of study) ที่เป็นดังนี้เพราะการเรียนที่ประสบความสำเร็จจะต้องดำเนินไปตามแนวทางและลำดับขั้นตอนอันเหมาะสมที่ได้กำหนดไว้มิเช่นนั้นแล้วก็จะออกนอกลู่นอกทางไม่ถึงจุดมุ่งหมายตามที่คาดหวังหรือถึงจุดมุ่งหมายแต่ก็อาจจะเสียเวลามากได้
( ที่มา
http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/kedthip3/index.html )

การบริหารจัดการหลักสูตร (Curriculum Administration) เป็นการบริหารงานที่มีขอบข่ายกว้างขวางครอบคลุมหลายมิติ เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายและต้องอาศัยองค์ประกอบปัจจัยเกื้อหนุนต่าง ๆ มากมายเปรียบเสมือนการบริหารกิจกรรมทุกชนิด ในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด ( กระทรวงศึกษาธิการ : 2552,1)
วัชราวลี วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา(2552:ออนไลน์)ได้กล่าวว่าการบริหารหลักสูตร หมายถึง การจัดการและการดำเนินการ การควบคุมดูแล ส่งเสริมและสนับสนุนให้การจัดกิจกรรมต่างๆ ในสถาบันการศึกษาตอบสนองต่อวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยใช้ทรัพยากรการบริหารที่มีอยู่อย่างจำกัด ในสถาบันการศึกษานั้นให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด
การบริหารหลักสูตรมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและโดยที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เปิดศักราชใหม่ให้กับการบริหารหลักสูตร โดยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ในการรับผิดชอบในทุกๆ ด้านจึงนับเป็นการเปิดศักราชแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ให้กับเด็กและเยาวชนไทยที่ตั้งอยู่บนหลักของการเรียนรู้ที่คำนึงถึงชีวิตและความเป็นจริงที่ผู้เรียนจะเผชิญอยู่ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตลอดจนสภาพแวดล้อมในทุกมิติที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตของผู้เรียน
หลักการบริหารหลักสูตร: แนวคิด

วิชัย วงษ์ใหญ่.(ข้อมูลออนไลน์ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 )กล่าวว่าการทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาอย่างชัดเจนและถูกต้องถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของชาติ โดยมีหลักและแนวคิดที่สำคัญ 9 ประการ ดังนี้
1. การวางแผนงานหลักสูตร ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านของการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกโรงเรียนจะมีทั้งหลักสูตรใหม่และหลักสูตรเก่า หลักสำคัญในการบริหารหลักสูตรคือจะต้องทำให้ผู้เรียนสูญเสียประโยชน์น้อยที่สุด เพราะฉะนั้นจะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนหลักสูตรให้น้อยและสั้นที่สุด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนที่ดีต้องจัดระบบให้ดีมีข้อมูลที่ชัดเจน และตระเตรียมทุกอย่างให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
2. การจัดระบบข้อมูลโรงเรียน นับเป็นพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งในการบริหารหลักสูตร ระบบข้อมูลโรงเรียนประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ ดังนี้
* หลักสูตร - ระบบการสร้างหลักสูตร การบริหารหลักสูตร และการประเมินผล
* การบริหารจัดการ - มีข้อมูลด้านผู้เรียน ผู้สอน ว่ามีความพร้อมหรือไม่เพียงใด
* ระบบข้อมูล - ครูอาจารย์ นักเรียน บุคลากร ผู้รู้ในชุมชน อาชีพในพื้นที่
* การวางแผนกลยุทธ์ 3-5 ปี - แสดงถึงวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
* ระบบงบประมาณ - การบริหารงบประมาณจะต้องมีความชัดเจนตรวจสอบได้ มุ่งผลงาน และ เพื่อพัฒนาการศึกษาเป็นสำคัญ
* การพัฒนาการเรียนรู้ - สื่อและข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียนการสอน การประเมินผล การศึกษาอบรมของครู
* ระบบช่วยเหลือ - มีข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล จำแนกเด็กเก่ง เด็กปกติ และเด็กด้อยโอกาส เพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลืออย่างสอดคล้องกับความจำเป็นต้องการของเด็กแต่ละกลุ่ม
* บริหารบุคคล - ข้อมูลเกี่ยวกับครูอาจารย์ ทั้งในด้านการศึกษา การอบรม การจัดหา บรรจุ และเลิกจ้าง เพื่อช่วยในการพัฒนาครูให้เหมาะสมสอดคล้องกับหลักสูตรใหม่
* การประเมินภายใน - จัดเตรียมข้อมูลการพัฒนาหลักสูตร บุคลากร และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กและโรงเรียน
3. เอกสารหลักสูตร จะต้องชี้แนวการสอนอย่างถูกต้อง ชัดเจน และทันสมัย เอกสารประกอบหลักสูตรและรายวิชาที่ละเอียดประณีต จะช่วยให้การบริหารหลักสูตรเป็นไปโดยง่าย สามารถติดตามการทำงานได้อย่างใกล้ชิดและเป็นขั้นเป็นตอน
4. คณาจารย์มีคุณภาพ เข้าใจหลักสูตรอย่างดี เมื่อครูเป็นผู้เขียนหลักสูตรเองแล้ว ย่อมจะทำให้การศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรเป็นไปโดยง่าย สามารถปรับประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นจริงในห้องเรียนได้
5. ผู้เรียนมีความพร้อมด้านความรู้พื้นฐานและคุณธรรม ทั้งด้านวิชาการ คุณธรรม จริยธรรม สถานศึกษาจะต้องจัดเตรียมระบบข้อมูลรายบุคคลของผู้เรียน โดยครูผู้สอนทุกคนมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียนทุกๆ ด้าน
6. มีทรัพยากรสนับสนุนที่ดีและเพียงพอ การบริหารการศึกษาในอนาคตอันใกล้เป็นการกระจายอำนาจในหลายๆ ด้าน ท้องถิ่นจะมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรในการเรียนการสอน ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องงบประมาณ ทรัพยากรบุคคล แหล่งเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอน การระดมทรัพยากรจะต้องกระทำอย่างหลากหลายและกว้างขวางขึ้น
7. ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาดีและมีประสิทธิภาพ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จุดเน้นอีกเรื่องหนึ่งคือ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจะมีสอดแทรกอยู่เป็นระยะๆ ตลอดเวลาบทบาทในเรื่องนี้ ไม่ใช่ภาระหน้าที่ของครูคนใดคนหนึ่ง แต่ครูทุกคนจะมีบทบาทเป็นครูที่ปรึกษาหรือครูแนะแนวได้ โดยเฉพาะครูที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก
8. มีบรรยากาศทางวิชาการที่เอื้อต่อการแสวงหาความรู้ ทุกจุดทุกมุมของโรงเรียนและชุมชน เป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ ไม่ใช่จะต้องเรียนจากตำราอย่างเดียว หากครูเข้าใจก็จะสามารถดึงประสบการณ์ ของผู้เรียนเข้ามาสู่กระบวนการเรียนรู้ได้ การสร้างบรรยากาศทางวิชาการเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความเอาใจใส่อย่างสูงจากผู้เกี่ยวข้อง เช่น การจัดแสดงนิทรรศการหรือข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในโรงเรียน หากทำให้เป็นปัจจุบันและให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำ ก็จะเป็นกิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ที่ใกล้ตัวเด็กได้อีกแหล่งหนึ่ง เช่น นำผลงานของเด็กที่ดีเด่นมาแสดง ทั้งด้านศิลปะหรือในโรงอาหาร ติดป้ายให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการ เป็นต้น
9. มีระบบการติดตามและประเมินผล คณะกรรมการบริหารหลักสูตรรายวิชาจะต้องมาพูดคุยกันในแต่ละภาคการศึกษา และทุกสิ้นปีการศึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาก็จะต้องจัดการประเมินผล ดูภาพรวม และเขียนรายงานออกมา เป็นการประเมินภายในไปในตัว เป็นการทำงานที่ผลการปฏิรูปการเรียนการสอนจะไปสู่ตัวผู้เรียนโดยตรง และควรเน้นการประเมินตามสภาพจริงระบบบริหารจัดการหลักสูตรที่ดีจึงต้องเป็นระบบที่มีคุณธรรม อันเป็นคุณสมบัติที่ดีทางจิตใจมีความรับผิดชอบ ต่อการจัดการเรียนการสอนให้ดีที่สุด เมื่อนำไปประพฤติปฏิบัติจริง ถือได้ว่ามีจริยธรรม มีการควบคุมกาย วาจา อันเป็นศีลธรรมของผู้สอน ทำให้เกิดความชอบธรรมในการจัดการเรียนการสอน และทุกคนทุกฝ่ายจะต้องมีความสมานฉันท์ ช่วยกันทำงานเพื่อพัฒนาผู้เรียน เติมเต็มผู้เรียนในทุกๆ ด้านเมื่อประกอบกับโรงเรียนมีโครงสร้างและทำงานอย่างมีคุณภาพ ก็จะทำให้โรงเรียนเป็นระบบที่มีปัญญาเป็นพื้นฐานสามารถเรียนรู้ และปรับตัวได้ต่อเนื่องการพัฒนาหลักสูตร
จิตรากูล ธิวงศ์ษา (ข้อมูลออนไลน์ สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553 )ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงนับได้ว่าเป็นการศึกษาเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาระบบการเมืองของสังคมไทยตลอดจนพัฒนาคุณภาพทางการเมืองของประชาชนอีกด้วยจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลียนแปลงไปอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดเป็นปัญหาสำคัญ คือ เปลี่ยนแปลงทางการศึกษาทันกับความต้องการของสังคมหรือไม่ คุณภาพของการศึกษาจึงเป็นปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนให้ดีขึ้นให้อยู่ในระดับสูงต่อไป ดังนั้นจึงทำให้มีการจัดคุณภาพของการศึกษาขึ้นมาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการจึงมีการพัฒนาหลักสูตรของการเรียนเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนและ การนำไปใช้ได้ในชีวิตของผู้เรียนและสามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปทำประโยชน์ในด้านต่างๆได้เป็นอย่างดี จึงมีการจัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาการทางด้านการศึกษาเพราะการพัฒนาหลักสูตรคือการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การดำเนินการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทางการศึกษาของประเทศพัฒนา ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจุบันการพัฒนาการศึกษาจึงเป็นหัวใจหลักที่จะเป็นแนวทางในการนำเยาวชนของชาติไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของชาติบ้านเมืองของเรา ให้ทัดเทียมกับประเทศที่มีกาารพัฒนาในเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความก้าวหน้าในหลายๆด้านสามารถสรุปหลักการพัฒนาหลักสูตรได้เป็น 2 นัยคือ
1. การปรับปรุงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรบางส่วนที่กำลังใช้อยู่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงสร้างสรรค์วัสดุหลักสูตร และวัสดุอื่นๆที่ผู้เรียนต้องใช้ การพัฒนาหลักสูตรในลักษณะนี้ไม่ทำให้แนวคิดพื้นฐานและรูปแบบของหลักสูตรเปลี่ยนไป
2. การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่โดยเปลี่ยนจากรูปแบบเก่า ทั้งระบบ ทุกองค์ประกอบของหลักสูตร บางครั้งอาจเรียกว่า การยกร่างหลักสูตร การจัดทำหลักสูตร หรือการสร้างหลักสูตร ความคิดต่างๆที่ก่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตร แนวความคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร จำเป็นต้องมีการดำเนินงานเป็นระเบียบแบบแผนต่อเนื่องกันไป ซึ่งเริ่มจากการวางจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานนี้จะต้องคำนึงจึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาหลักสูตรว่าจะเริ่มต้นที่ใดก่อนและดำเนินการอย่างไรจึงจะเป็นการพัฒนาหลักสูตร รวมถึงผลงานต่างๆทางด้านหลักสูตรต่างๆที่ได้สร้างขึ้นมาใหม่อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าหลักสูตรเดิมต้องคำนึงถึง การดำเนินงาน วิธีการต่างๆรวมทั้งหลักการและแนวปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนาหลักสูตร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้วจะต้องมีการฝึกอบรมครูประจำการให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่ รวมทั้งทักษะในด้านต่างๆและต้องคำนึงถึงประโยชน์ในด้านการพัฒนาจิตใจและทัศนคติของนักเรียนด้วยต้องได้รับความร่วมมือและการประสานงานอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในทางด้านหลักสูตรทุกๆด้าน และต้องมีผู้นำที่ชำนาญมีความสามารถในหน้าที่การงานเป็นอย่างดี
การพัฒนาและใช้หลักสูตรจะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องมีความเข้าใจที่ชัดเจนตรงกันเกี่ยวกับหลักสูตรรวมทั้งเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนการบริหารจัดการหลักสูตรในยุคปัจจุบันซึ่งมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและสถานศึกษา ให้มีส่วนร่วมคิดร่วมตัดสินใจในการพัฒนาหลักสูตรของตนเองนั้น ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงแนวคิด วิธีการ รูปแบบ และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากกรอบแนวคิดเดิม สู่แนวคิดใหม่ ความรู้ใหม่ วิธีการบริหารจัดการ และ แนวปฏิบัติใหม่ ๆ ซึ่งต้องมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันหลายระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และระดับสถานศึกษา
กระบวนการบริหารหลักสูตร



บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552) แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพ.โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิตรากูล ธิวงศ์ษา. การพัฒนาหลักสูตร. สัมพันธ์สารออนไลน์.สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553
http://sps.lpru.ac.th/script/indexgroup.pl?mag_id=5&group_id=22 .
ปรียาพร วงอนุตรโรจน์.การบริหารงานวิชาการ.(2535).กรุงเทพ.ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
วัชราวลี วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา.(2552) การบริหารจัดการหลักสูตร.สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553,จาก
http://203.144.133.41/km/index.php?option=com
วิชัย วงษ์ใหญ่.การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา.วารสารเพื่อการศึกษา และการเรียนรู้บนโลกออนไลน์
สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2553.จาก http://gotoknow.org/blog/cklinphaka/204306

เกี่ยวกับวันไหว้ครู

วันไหว้ครู ซึ่งสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง มักเลือกเอาวันพฤหัส ในช่วงเริ่มต้นของการเปิดภาคเรียน ตามความเชื่อโดยทั่วไปของไทย ซึ่งถือว่าวันพฤหัสบดี คือ วันครู หรือ ครุวาร
สำหรับพิธีไหว้ครูนั้น ไม่มีพิธีรีตรองมากนัก จัดทำขึ้นเพื่อน้อมระลึกถึงพระคุณครู และแสดงการสักการะแด่คุณครู พิธีประกอบด้วย การที่ลูกศิษย์ นำ ดอกไม้ ธูป เทียน มากราบไหว้สักการะครู โดยอาจมีการรวมกลุ่มกันแต่ละห้อง หรือชั้นเรียน จัดทำพานดอกไม้ และธูปเทียน สักการะพระคุณครูด้วย
ในพิธีไหว้ครูนั้น นอกจากธูป เทียน แล้ว เครื่องสักการะที่ใช้ ยังมีข้าวตอก ดอกมะเขือ ดอกเข็ม และ หญ้าแพรก อีกด้วย โดยสิ่งเหล่านี้เป็นของหาง่าย และล้วนแฝงความหมาย แง่คิดสอนใจ

ข้าวตอก ได้มาจาก การนำข้าวเปลือกไปแช่น้ำให้นิ่ม แล้วจึงนำไปคั่วด้วยความร้อน จนเมล็ดข้าวแตก และ บานออกมีสีขาวบริสุทธิ์ มีความหมายว่า ครูย่อมสอนศิษย์ ทั้งด้วยวิธีปลอบโยน เปรียบได้กับน้ำที่ทำให้ข้าวเปลือกนิ่ม และ วิธีการเคี่ยวเข็ญที่เข้มงวด มีการลงโทษเมื่อศิษย์ ไม่ประพฤติปฏิบัติตาม เหมือนการนำเมล็ดข้าวไปคั่วด้วยความร้อน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ ศิษย์เป็นคนดี มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต เปรียบได้กับ สีขาวของข้าวตอก และ การแตกบาน ของข้าวตอก
ดอกมะเขือ เป็นดอกไม้ที่บานแล้วคว่ำดอกลงสู่พื้นดิน เหมือนน้อมรำลึกถึงพระคุณของดิน แสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นเครื่องเตือนใจให้ศิษย์ ระลึกได้อยู่เสมอว่า ศิษย์จักต้องระลึกถึงพระคุณครู และน้อมรับคำสั่งสอนของครู
ดอกเข็ม ด้วยลักษณะของดอกเข็ม ที่มีปลายแหลม เปรียบเหมือน ความฉลาดหลักแหลม การนำดอกเข็มมาไหว้ครู เชื่อว่าศิษย์จะมีสติปัญญาเฉียบแหลมและฉลาดรอบรู้ เปรียบเสมือนเหล็กแหลมที่ได้รับการฝน มาอย่างดี โดยคุณครูผู้มีความพยายาม และอดทนนั่นเอง
หญ้าแพรก เนื่องจากหญ้าแพรก เป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้ง และ ที่สำคัญสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็วในทุกพื้นที่ แม้ถูกเหยียบย่ำก็ไม่ตาย เมื่อได้รับน้ำฝน ก็จะแตกใบขยายพันธุ์ขึ้นอีก มีความหมายว่า ศิษย์จะต้องมีความอดทน ต่อการเคี่ยวเข็ญ ดุว่า เฆี่ยนตี ของครู โดยไม่ถือโกรธ ดุจดังหญ้าแพรก และหากศิษย์กระทำตัวเช่นหญ้าแพรกได้ เมื่อเติบโตขึ้น ย่อมสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ในทุกสภาพสังคม ได้พบกับความเจริญในชีวิต